วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ภาษาในท่ารำ_test1

ภาษาในท่ารำ
แผนผังสาระการเรียนรู้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ภาษาในท่ารำ
แผนผังการเรียนรู้แบบบูรณาการ




แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เวลา 4 ชั่วโมง
แผนที่ 3 เรื่อง ภาษาในท่ารำ เวลา 4 ชั่วโมง
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

1. มาตรฐานการเรียนรู้ ศ 3.1
มาตรฐาน ศ 3.1.2 แสดงการเคลื่อนไหวอย่างอิสระและมีรูปแบบนาฏศิลป์เบื้องต้น
มาตรฐาน ศ 3.1.3 แสดงออกทางนาฏศิลป์จากประสบการณ์อย่างอิสระ
มาตรฐาน ศ 3.1.5 แสดงความรู้สึกชื่นชมต่อการแสดงออกทางนาฏศิลป์
มาตรฐาน ศ 3.1.6 นำความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ การฝึกฝนด้านละครสร้างสรรค์ และนาฏศิลป์มา เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน


2. สาระสำคัญ
1. การฟ้อนและการรำ เป็นนาฏศิลป์ไทยที่แสดงถึงความบันเทิง ความเป็นอยู่ของคนไทย ซึ่งเราควรอนุรักษ์และร่วมกันสืบทอดการแสดงนาฏศิลป์ให้คงอยู่สืบไป
2. ภาษานาฏศิลป์ เป็นการสื่อสารและถ่ายทอดเรื่องราว ความหมายออกมาเป็นท่ารำแทนคำพูดและยังสามารถบ่งบอกอารมณ์ความรู้สึกได้
3. นาฏยศัพท์เป็นการสื่อความหมายในการแสดง ซึ่งส่วนใหญ่นาฏยศัพท์เป็นใช้การเคลื่อนไหวของมือและเท้าที่มีความอ่อนช้อยงดงาม
4. การประดิษฐ์ท่ารำประกอบเพลง เป็นการสร้างสรรค์ท่าทางการรำให้เหมาะสมกับเพลงโดยการนำภาษานาฏศิลป์มาผสมผสานให้เกิดท่ารำใหม่

3. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. รู้และเข้าใจการฝึกปฏิบัตินาฏศิลป์เบื้องต้น (มฐ.ศ. 3.1 ข้อ 2)
2. สามารถเคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบทางนาฏศิลป์เบื้องต้น (มฐ.ศ. 3.1 ข้อ 2)
3. สร้างสรรค์ผลงานจากประสบการณ์อย่างอิสระ (มฐ.ศ. 3.1 ข้อ 3)
4. แสดงความรู้สึกชื่นชอบกับการแสดงออกทางนาฏศิลป์ (มฐ.ศ. 3.1 ข้อ 5)
5. ใช้ความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์นาฏศิลป์มาสร้างสรรค์ในการเรียนรู้ (มฐ.ศ. 3.1 ข้อ 6)


4. จุดประสงค์
1. รู้การฝึกปฏิบัตินาฏศิลป์เบื้องต้น (มฐ.ศ. 3.1 ข้อ 2)
2. เข้าใจการฝึกปฏิบัตินาฏศิลป์เบื้องต้น (มฐ.ศ. 3.1 ข้อ 2)
3. สามารถเคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบทางนาฏศิลป์เบื้องต้น (มฐ.ศ. 3.1 ข้อ 2)
4. สร้างสรรค์ผลงานจากประสบการณ์อย่างอิสระ (มฐ.ศ. 3.1 ข้อ 3)
5. แสดงความรู้สึกชื่นชอบกับการแสดงออกทางนาฏศิลป์ (มฐ.ศ. 3.1 ข้อ 5)
6. ใช้ความรู้ความเข้ามาและประสบการณ์นาฏศิลป์มาสร้างสรรค์ในการเรียนรู้ (มฐ.ศ. 3.1 ข้อ 6)


5. กิจกรรมการเรียนรู้ (ขั้นนำ, ขั้นสอน, ขั้นสรุป)
ตอนที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการรำและฟ้อน (เวลา 1 ชั่วโมง)
1. ครูหาภาพการแสดงนาฏศิลป์ 1 ภาพ เช่น รำวงมาตรฐาน รำกลองยาว เป็นต้น แสดงให้นักเรียนดู แล้วร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
- นักเรียนเคยเห็นการแสดงในภาพหรือไม่ (ตัวอย่างคำตอบ เคยเห็น)
- นักเรียนทราบชื่อการแสดงในภาพหรือไม่ (ตัวอย่างคำตอบ รู้จัก การแสดงรำวงมาตรฐาน)
- ผู้แสดงในภาพแต่งกายอย่างไร (ตัวอย่างคำตอบ สวมโจงกระเบน เสื้อแขนกระบอกห่มสไบ)
- การแสดงในภาพสามารถพบเห็นได้จากที่ใดบ้าง (ตัวอย่างคำตอบ งานลอยกระทง งานสงกรานต์)
- นักเรียนชอบการแสดงในภาพหรือไม่ เพราะอะไร (ตัวอย่างคำตอบ ชอบ เพราะเป็นการแสดงที่สวยงาม อ่อนช้อย)
2. ครูอธิบายความรู้เรื่องความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการรำและฟ้อนในชุดกิจกรรม แล้วให้นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
- การฟ้อนและการรำแตกต่างกันอย่างไร (การฟ้อนมีผู้แสดงเป็นหมู่คณะ ใช้การเคลื่อนไหวของแขนและขาช้าๆ ส่วนการรำเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายที่งดงามมีทั้งรำเดี่ยวและหมู่)
3. นักเรียนร่วมกันยกตัวอย่างชื่อการแสดงฟ้อนและรำที่นักเรียนรู้จักหรือเคยได้ยินมาคนละ 1 ชื่อ จากนั้นครูคัดเลือกผู้แทนนักเรียนครั้งละ 1 คน พูดชื่อการแสดงที่คิดไว้ แล้วให้เพื่อนที่เหลือร่วมกันบอกว่าเป็นการฟ้อนหรือการรำเพราะอะไร โดยครูเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้อง
4. ครูทำบัตรคำขนาด 4 × 6 นิ้ว จำนวน 4 บัตรคำ โดยเขียนคำต่างๆ ลงในบัตรคำ ดังนี้


เมื่อครูชูบัตรคำบัตรใดให้นักเรียนร่วมกันตอบว่ามีชื่อการแสดงใดบ้างที่ตรงกับบัตรคำดังกล่าวโดยครูเป็นผู้ตรวจสอบคำตอบให้ถูกต้อง
5. ครูหาภาพการรำและการฟ้อนอย่างละ 1 ภาพ จากนั้นให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 2 กลุ่มส่งผู้แทนกลุ่มออกมารับภาพการแสดง เพื่อร่วมกันแสดงความคิดเห็นในหัวข้อที่ครูกำหนดให้ ดังนี้
- ชื่อการแสดง
- รูปแบบการแสดง
- เครื่องแต่งกาย
- เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง

จากนั้นส่งผู้แทนกลุ่มละ 1-2 คน ออกมารายงานผลหน้าชั้นเรียน โดยเปิดโอกาสให้เพื่อนได้ซักถามข้อสงสัย
6. ให้นักเรียนวาดภาพการแสดงรำหรือฟ้อนที่ชอบระบายสีให้สวยงาม พร้อมทั้งเขียนบรรยายความชอบลงในกระดาษ
7. ให้นักเรียนทำกิจกรรมที่ 1 เรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการรำและฟ้อน ข้อ 1


ตอนที่ 2 ภาษานาฏศิลป์ (เวลา 1 ชั่วโมง)
1. ครูคัดเลือกผู้แทนนักเรียน 1-2 คน ออกมาแสดงท่าทางที่แสดงถึงอารมณ์โกรธหน้าชั้นเรียน แล้วให้เพื่อนที่เหลือร่วมกันทายว่าเป็นการแสดงถึงอารมณ์ใด
2. ครูสาธิตท่านั่งในลักษณะต่างๆ ให้นักเรียนดูและปฏิบัติตามทีละท่าจนถูกต้องและพร้อมเพรียงกัน ดังนี้
- ท่านั่งหมอบเฝ้า
- ท่านั่งรับคำสั่ง
- ท่านั่งเมื่อต้องโทษ

แล้วให้นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม โยครูใช้คำถาม ดังนี้
- นักเรียนชอบการปฏิบัติท่านั่งใดมากที่สุด เพราะอะไร (ตัวอย่างคำตอบ ชอบท่านั่งรับคำสั่ง เพราะดูนุ่มนวล อ่อนช้อย)
3. ครูสาธิตการแสดงภาษาท่าแสดงความรู้สึกให้นักเรียนดูและปฏิบัติตามทีละท่าจนถูกต้องและพร้อมเพรียงกัน ดังนี้
- ท่าประชดประชัน
- ท่าเยาะเย้ย ถากถาง

แล้วให้นักเรียนร่วมกันตอบคำถา โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
- นักเรียนชอบการปฏิบัติภาษาท่าแสดงความรู้สึกท่าใดมากที่สุด เพราะอะไร (ตัวอย่างคำตอบ ท่าประชดประชัน เพราะสอดคล้องกับการประชดประชันในชีวิตประจำวันจำได้ง่าย)
4. ครูสาธิตการแสดงภาษาท่าแทนความหมาย ท่าความผูกพัน เกี่ยวพัน ให้นักเรียนดู และปฏิบัติตามจนถูกต้องและพร้อมเพรียงกัน
5. ครูสาธิตการแสดงภาษาท่าแทนสัตว์ ท่าพญาครุฑ ให้นักเรียนดูและปฏิบัติตามจนถูกต้องและพร้อมเพรียงกัน
6. ครูสาธิตการแสดงภาษาท่าแทนสิ่งของ ท่าธำมรงค์หรือแหวน ให้นักเรียนดูและปฏิบัติตามจนถูกต้องและพร้อมเพรียงกัน
7. ให้นักเรียนร่วมกันตอบคำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติภาษานาฏศิลป์ โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
- นักเรียนปฏิบัติภาษานาฏศิลป์ท่าใดได้ดี (ตัวอย่างคำตอบ ท่านั่งหมอบเฝ้าท่านั่งรับคำสั่งและท่านั่งเมื่อต้องโทษ)
- นักเรียนปฏิบัติภาษานาฏศิลป์ท่าใดได้พอใช้ (ตัวอย่างคำตอบ ท่าผูกพันเกี่ยวพัน ท่าพญาครุฑ และท่าธำมรงค์หรือแหวน)

- นักเรียนควรปรับปรุงการปฏิบัติภาษานาฏศิลป์ท่าใดบ้าง (ตัวอย่างคำตอบ ท่าประชดประชัน ท่าเยาะเย้ย ถากถาง)
8. จับคู่กับเพื่อนเพื่อร่วมกันเลือกภาษานาฏศิลป์ที่ชอบคู่ละ 1 ท่า จากนั้นฝึกปฏิบัติจนถูกต้องสวยงาม และออกมาปฏิบัติหน้าชั้นเรียน
9. ให้นักเรียนทำกิจรรมที่ 2 เรื่อง ภาษานาฏศิลป์ ข้อ 1 (ใบงาน)

ตอนที่ 3 นาฏยศัพท์ (เวลา 1 ชั่วโมง)
1. ครูให้นักเรียนดูภาพการป้องหน้าในชุดกิจกรรม แล้วให้นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
- นาฏยศัพท์ป้องหน้าคล้ายกับท่าทางการแสดงความหมายใดในชีวิตประจำวัน (ตัวอย่างคำตอบ การมองดูสิ่งของที่อยู่ไกล เป็นต้น)
2. ครูสาธิตนาฏยศัพท์ป้องหน้า ให้นักเรียนดูและปฏิบัติตามจนถูกต้องและพร้อมเพรียงกันแล้วให้นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม โดยครูใช้คำถาม ดังนี้

- การป้องหน้าแทนความหมายว่าอย่างไร (การสื่อความหมายให้ผู้ชมทราบว่าได้เดินทางมาถึงที่แล้ว)
- การป้องหน้าใช้นาฏยศัพท์ใด (จีบคว่ำ)
3. ครูสาธิตนาฏยศัพท์เท้าฉากให้นักเรียนดูและปฏิบัติตามจนถูกต้องและพร้อมเพรียงกันแล้วให้นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
- การเท้าฉากเป็นนาฏยศัพท์ที่ใช้สำหรับแสดงในตอนใดของโขน (การจัดทัพ ตรวจพล)
- การเท้าฉากมีลักษณะคล้ายกับกิริยาอาการในชีวิตประจำวันอย่างไร (ตัวอย่างคำตอบ การห้ามหรือการปฏิเสธ)
4. ให้นักเรียนร่วมกันปฏิบัตินาฏยศัพท์ป้องหน้าและนาฏยศัพท์เท้าฉากให้ถูกต้องและพร้อมเพรียงกันโดยครูเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของนาฏยศัพท์


ตอนที่ 4 การประดิษฐ์ท่ารำประกอบเพลง เวลา 1 ชั่วโมง
1. ให้นักเรียนดูภาพท่ารำสอดสร้อยมาลาในชุดกิจกรรม แล้วให้นักเรียนร่วมกันตอบคำถามโดยครูใช้คำถาม ดังนี้
- ท่าสอดสร้อยมาลาประกอบด้วยนาฏยศัพท์อะไรบ้าง (นาฏยศัพท์ตั้งวง จีบและก้าวหน้า)
- นักเรียนพบเห็นท่ารำสอดสร้อยมาลาจากการแสดงใดบ้าง (ตัวอย่างคำตอบ รำวงมาตรฐาน)

- นักเรียนเคยรำท่ารำสอดสร้อยมาลาจากการแสดงใดบ้าง (ตัวอย่างคำตอบ เคย)
2. ครูสาธิตท่ารำสอดสร้อยมาลาให้นักเรียนดู และปฏิบัติตามจนถูกต้องและพร้อมเพรียงกัน ดังนี้
- นาฏยศัพท์ตั้งวง (มือซ้าย) และจีบ (มือขวา)
- นาฏยศัพท์ก้าวหน้า
- ท่ารำสอดสร้อยมาลา

แล้วให้นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
- นักเรียนปฏิบัตินาฏยศัพท์ใดได้ถูกต้อง (ตัวอย่างคำตอบ นาฏยศัพท์ก้าวหน้า)

- นาฏยศัพท์ใดที่นักเรียนปฏิบัติได้ ควรปรับปรุงอย่างไร (ตัวอย่างคำตอบ นาฏยศัพท์ตั้งวง ควรฝึกปฏิบัติให้สม่ำเสมอมากขึ้น)
3. ครูและนักเรียนร่วมกันทำท่ารำสอดสร้อยมาลาประกอบเพลงงามแสงเดือนร่วมกัน 1 รอบ ให้ถูกต้องพร้อมเพรียงกัน
4. ครูและนักเรียนร่วมกันประดิษฐ์ท่ารำ 1 ท่า และร่วมกันฝึกปฏิบัติ โดยใช้นาฏยศัพท์และภาษานาฏศิลป์มาผสมผสานกันให้เกิดเป็นท่ารำที่สวยงาม
5. ครูคัดเลือกนักเรียน 1-2 คน ออกมานำเสนอท่ารำที่ประดิษฐ์หน้าชั้นเรียน โดยครูและเพื่อนที่เหลือในชั้นเรียนร่วมกันแนะนำท่ารำให้ถูกต้อง

6. ให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการอ่านและการเขียน
7. ให้นักเรียนทำแบบพัฒนาทักษะในการทำข้อสอบปรนัย




6.สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1. วีดีทัศน์การแสดงรำวงมาตรฐาน
2. วีดีทัศน์การรำและการฟ้อน
3. บัตรคำการรำและและการฟ้อน
4. ใบงาน
5. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานดนตรี – นาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
6. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรี – นาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3


7. การวัดผลประเมินผล
1. วิธีการวัดและประเมินผล
1.1 สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
1.2 สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

2. ตรวจใบงาน
3. เครื่องมือ
3.1 แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
3.2 แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

4. เกณฑ์การประเมิน
4.1 การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน
4.2 การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
คะแนน 9 - 10 ระดับ ดีมาก
คะแนน 7 – 8 ระดับ ดี
คะแนน 5 – 6 ระดับ พอใช้
คะแนน 0 – 4 ระดับ ควรปรับปรุง


กิจกรรมเสนอแนะ
1. แบ่งกลุ่มร่วมกันค้นคว้านาฏยศัพท์หรือภาษานาฏศิลป์อื่นๆ เพื่อนำมาจัดป้ายนิเทศพร้อมทั้งตกแต่งให้สวยงาม
2. ร่วมกันค้นคว้าประโยชน์ของการปฏิบัตินาฏยศัพท์และภาษานาฏศิลป์ ที่มีผลต่อร่างกายโดยเขียนสรุปเป็นแผนภาพแบบใยแมงมุมลงในกระดาษ


ความรู้เพิ่มเติม
นาฏยศัพท์ที่ควรทราบ
1. จีบปรบข้าง คือ การจีบด้ายข้างศีรษะ โดยหักข้อมือที่จีบเข้าหาท้องแขนเสมอ ปลายจีบชี้เข้าหาศีรษะให้อยู่ในระดับหางคิ้ว
2. การกล่อมไหล่ คือ การเอียงไหล่ไปมาช้าๆ ถ้าต้องการเอียงไหล่ซ้ายผู้แสดงควรเอียงไหล่ขวาก่อนแล้วค่อยๆ หันไหล่ช้าๆ มาทางซ้าย แล้วทำต่อเนื่องช้าๆ
3. การตีไหล่ คือ การกดไหล่ไปข้างใดข้างหนึ่ง ถ้าต้องการตีไหล่ออกข้างซ้ายให้ผู้แสดงเอียงศีรษะซ้าย พร้อมเอียงไหล่ซ้ายลงมาแล้วค่อยๆ หันไหล่ซ้ายไปข้างหลังพอประมาณและเอียงศีรษะซ้ายตามไปด้วย